หลังจบโอลิมปิกเกมส์ 2016 ที่บราซิล “เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ” ค่อยๆยกระดับความสามารถตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมกราคม 2018 เธอขึ้นครองมือ 1 ของโลกเป็นครั้งแรก และรักษาตำแหน่งไว้ได้นานถึง 6 เดือนก่อนจะเสียตำแหน่งให้กับ คิม โซ ฮุย จากเกาหลีใต้ หลังจากนั้นทั้งคู่ก็สลับกันขึ้นลงอยู่อย่างนั้น
แอดไลน์ @Bankeela รับลิ้งดูบอล ทีเด็ด วิเคราะห์บอลจากทางบ้านกีฬา
จนกระทั่งจบปี 2018 เป็นจอมเตะจากเกาหลีใต้ที่ครองมือ 1 ของโลก แต่พอเข้าปี 2019 เทนนิส กลับขึ้นไปครองมือ 1 ของโลกได้ตั้งแต่เดือนแรก จนถึงตอนนี้เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือนแล้ว ที่เธอครองมือ 1 ของโลกแบบไม่แพ้ใคร
ทั้งๆที่ในรุ่น 49 กิโลกรัมหญิง มีแต่จอมเตะดีกรีแชมป์โลก แชมป์โอลิมปิก และแชมป์เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ อยู่เต็มไปหมด อาทิ คิม โซ ฮุย, หวู จิง หยู และทิยานา บ็อกดาโนวิช แต่เพราะอะไรที่ทำให้ เทนนิส ยืนอยู่เหนือจอมเตะระดับโลกเหล่านี้ได้ เธอมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติแบบไหน วันนี้ STADIUMTH จะพาไปหาคำตอบกัน
อันดับโลกไม่มีความหมาย : ทัศนคติที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ เทนนิส บอกกับเราว่าวิธีคิดเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคิดให้ถูก โฟกัสให้ถูก ไม่หลงระเริงไปกับตัวเลขสถิติต่างๆ ถ้าหากเรามองว่าตัวเองเป็นอันดับ 1 ของโลก แล้วคิดว่าเก่งกว่าคนอื่น แบบนั้นมันเหมือนฆ่าตัวตายชัดๆ เพราะที่จริงแล้วมันก็แค่ตัวเลขที่ไม่ได้วัดความสามารถหรือการันตีผลการแข่งขัน อันดับ 1 ของโลก ก็มี 2 แขน 2 ขา เท่ากัน คะแนนก็เริ่มจากศูนย์เท่ากัน ทุกคนมีโอกาสแพ้ชนะเท่ากันหมด
มุ่นมั่นอยู่เสมอ : นับตั้งแต่ขยับขึ้นมาแข่งขันในรุ่นประชาชน เทนนิส คว้าแชมป์มาแล้ว 27 รายการมากที่สุดในประวัติศาสตร์จอมเตะไทย ซึ่งอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้เธอไม่แพ้ใครตลอดปี 2019 ก็คือความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
ไม่ประมาทคู่แข่ง : ไม่ว่าคู่แข่งจะเป็นใคร ฝีมือห่างชั้นกันแค่ไหน เทนนิส ก็ไม่เคยออมแรงเลยสักครั้ง เห็นได้จากในซีเกมส์ 2 ครั้งหลังสุด ปี 2017 และ 2019 เราจะเห็นได้ว่าเธอจัดหนักจัดเต็มทุกแมตช์ ชนะเพื่อนบ้านในอาเซียนขาดลอย 30-40 แต้ม เพราะนอกจากจะเป็นการให้เกียรติคู่ต่อสู้แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นว่าเธอไม่ประมาทคู่แข่งเลยสักครั้ง
อดทนมากกว่าคนอื่น : เทนนิส บอกอีกว่าการยืนตำแหน่งสูงสุดแน่นอนว่าใครๆ ต่างก็พุ่งเป้าหมายมาที่เราและอยากเอาชนะเราให้ได้ ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็คือต้องอดทนมากกว่าคนอื่น อดทนในที่นี้หมายถึงอดทนกับความเหนื่อยจากการแข่งขัน การซ้อม หรือจากปัญหาส่วนตัวที่บางครั้งมันก็ผ่านเข้ามา อยากจะพักเราก็พักไม่ได้ เมื่อเราพักเมื่อไหร่นั่นหมายความว่าเปิดช่องให้คู่แข่งไล่ตามทัน
เน้นกระบวนการ ไม่สนผลลัพธ์ : การเป็นแชมป์ไม่ใช่เรื่องที่น่าพอใจเสมอไป เช่นเดียวกับความพ่ายแพ้ก็ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป สำหรับ เทนนิส วิธีการที่ได้มาเป็นเรื่องที่น่าพอใจมากกว่าชัยชนะ เธอบอกว่าหลายๆครั้งที่เอาชนะหรือคว้าแชมป์ แต่ถ้าหากว่าเล่นไม่ดี ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เธอจะไม่รู้สึกยินดีกับชัยชนะในครั้งนั้นเลย ในทางกลับกันไม่ว่าแมตช์ไหนก็ตามที่เล่นได้ตามที่ซ้อมมา ต่อให้แพ้เธอก็ไม่รู้สึกเสียใจเลยสักนิด เพราะอย่างน้อยก็ได้ทำให้สิ่งที่เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
ศึกษาคู่แข่งอยู่เสมอ : รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง หลักการนี้ยังคงนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้เสมอ นอกเหนือจากการฝึกซ้อมตามปกติ เทนนิส มักจะใช้เวลาว่างศึกษาคลิปวีดีโอดูฟอร์มการเล่นของคู่แข่งแต่ละคน แล้วร่วมกันวิเคราะห์กับทีมโค้ช เพื่อเลือกใช้รูปแบบการเล่นให้เหมาะสมในการเจอคู่ต่อสู้แต่ละคน อย่างที่เธอบอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ นักกีฬาทุกคนมีข้อดีข้อเสียต่างกัน เราเองก็ต้องพร้อมเปลี่ยนการเล่นทุก ๆ ครั้ง เพื่อที่คู่แข่งจะแก้ทางเราไม่ได้
ไม่ทำอะไรที่เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ : แน่นอนว่าเทควันโดเป็นกีฬาต่อสู้ ต้องเกิดการปะทะกันตลอดเวลา ดังนั้นอาการเป็นบาดเจ็บย่อมเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้บาดเจ็บน้อยที่สุดเพื่อเอาตัวรอดให้จนจบนัดชิงฯ เคล็ดลับของเธอก็คือจับจังหวะในการออกอาวุธให้ดี ไม่เล่นจังหวะที่เสี่ยงทำให้ตัวเองบาดเจ็บและที่สำคัญก็คือพยายามเตะป้องกันตัวให้ดีที่สุด
โภชนาการที่ดี : ยิ่งซ้อมหนักมากแค่ไหน เรื่องโภชนาการก็ยิ่งสำคัญเพราะจะช่วยเสริมสร้างพลังงานและกล้ามเนื้อทดแทนในส่วนที่เกิดจากฝึกซ้อม ซึ่งเคล็ดลับในเรื่องนี้ของเธอก็ไม่มีอะไรมาก ทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ กินแต่อาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ยิ่งใกล้ช่วงแข่งยิ่งต้องเข้มงวดเรื่องโภชนาการมากๆเพราะจะต้องคุมน้ำหนัก ไม่ทานอาหารที่ทำให้ท้องเสียหรือเกิดอาการแพ้เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
บทความจาก https://stadiumth.com/